วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

                         1. บทนำ
            การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลกการรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม
            นอกจากนี้ยังมีเปิดโอกาสให้เข้าถึงการพนัน เช่น มีบริการบ่อนกาสิโนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก 
            ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การแพร่ภาพอนาจารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำการควบคุมค่อน
ข้างยาก ทำให้ปัญหาขยายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว และแทบจะไม่มีขอบเขต  ซึ่งไม่อาจทราบว่ามีผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ดูภาพอนาจารเหล่านั้นอยู่หรือไม่
                     
                          2. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            2.1 ผลกระทบทางบวก
                     1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน การทำงานที่บ้านติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
                     2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง
เวลา และสถานที่ได้ เครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
                     3) เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ ก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทยในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่่อเสียงได้ทั่วโลก หรือ ใชวิธีปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
                     4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการ
ทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อ
ให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ 
                      5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล  เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล

                              http://www.archanwell.org/article/images/2546-02-27061_web.JPG

                     6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงาน
ให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing)
เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ
                     7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสิ้นค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น
            2.2 ผลกระทบทางลบ
                     1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรบุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานผู้ที่รับ ต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดการวิตกกังวลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง 
                     2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้นซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกาย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชนเกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
                     3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม แต่ละประเทศ มีความแตกต่างกัน ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั้งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม 
                     4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง  สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียนระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น
                     5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเอง
                     6) เกิดช่องว่างทางสังคม ผู้ใช้จึงชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร
                     7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี ประชาชนของประเทศส่วนมากยังขาดความรู้ใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 
                     8) อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์(Hacker)ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย และแครกเกอร์ (Cracker)คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรม หรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้

                                         http://www.ctc.ru.ac.th/home/images/stories/hijack.jpg

                     9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว  นอกจากนั้นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคอาร์เอสไอ (Repetitive Strain Injury : RSI) ซึ่งมีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มือ และนิ้วเกิดบาดเจ็บขึ้นเมื่อ
              
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjku-irHPauV9X4lMZuY6CQ1i5uqJhpoKzhJeyc1e0g4y2b0iqMRNYT4tCvbyZRWtaEgLr1lF6MYyGr_PSctyg9due10H6geLXNLzksWufYrIP5YQj5W0OZ-4bbdxE_BmPzKKYuQpQmTaY/s320/%E0%B8%99%E0%B8%99.jpg

                           3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
              3.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็
มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์ เช่นพฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำจะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษ และปากกา เป็นต้น                      
              3.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น           
              3.3 มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดชีวิต
ความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว        
           
              ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาสังคม การล่อลวงกันทางอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทางโปรแกรมที่สามารถโต้ตอบกันทันทีผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยปกติโปรแกรมนี้มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การเข้าไปมีความรู้สึกลุ่มหลงโดยปราศจากการไตร่ตรอง อาจเป็นสารเหตุที่ทำให้ถูกล่อลวงได้ ในกรณีที่ผู้ใช้เป็นเด็ก ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาว่าถึงวัยอันควรแล้วหรือยังที่เด็กจะได้รับอนุญาตให้ใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้ การสร้างถูมิคุ้มกันในตัวเด็กให้แข็งแรง ด้วยการให้ความรับ ความเอาใจใส่จะช่วยบรรเทาปัญหาในลักษณะนี้ได้
                
                            4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ                
             4.1 ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ 
              4.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดีได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้
              4.3 ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (Citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
              4.4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
               4.5 ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กรการควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย เป็นต้น การศึกษาแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานและการนำไปปฏิบัติจะสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง
                4.6 ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

               จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าว จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวปัจเจกบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมายซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง อย่างไรก็ตามวิธีการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะไม่ยั่งยืน ผิดกับแนวทางในการสร้างจริยธรรมในหมู่ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งในตอนถัดไปจะกล่าวถึงจริยธรรมและกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยี

                           5.ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กล้องวงจรปิด ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ หรือต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท หรือในกรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น          
                5.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้วิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูกสร้างขึ้นโดยสังคม จึงถูกแฝงประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแยบยล ดังเช่น การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ เป็นต้น 
          ผู้ผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางด้านจริยธรรมและการเมืองไว้ด้วย ยก
ตัวอย่างเช่น เครื่องเอทีเอ็มที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับคนปกติได้แต่ไม่สารมารถใช้งานได้กับคนตาบอดหรือคนพิการที่อยู่บทรถเข็น ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ กรณีนี้จะเป็นการจำกัดสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ และจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ที่อาจส่งผลกระทบทางด้านการเมืองหรือไม่ เป็นกรณีศึกษาที่พึงพิจารณา
              5.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง              
              เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) หรือที่รู้จักกันว่าโลกไซเบอร์ (Cyberspace) เป็นตัวอย่าง
ของการโต้ตอบกัน ในโลกเสมือนจริง มีการรวมกลุ่มหรือมีการสร้างสังคมรูปแบบเสมือนจริงในกลุ่มของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนาในสิ่งเดียวกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การศึกษาแบบเสมือนจริง การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง และอื่นๆ            
              ในโลกเสมือนจริง การโต้ตอบสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถที่จะสร้างหรือกำหนดตัวตนขึ้นมาในโลกเสมือนได้อย่างไร้พรมแดน ผู้คนสามารถสร้างตัวตนในโลกเสมือนได้ไม่จำกัด โดยตัวตนที่แท้จริงอาจถูกซ่อนเร้นไว้ ดังตัวอย่างเช่น คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี
         
                           6. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
               เมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น
 
http://4.bp.blogspot.com/-xAGpkDMdfN4/UVBNvYGWOMI/AAAAAAAAxKw/HOHjPu8l-6w/s1600/250356020.jpg

               บรรดาอารยะประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ตื่นตัวและกำหนดทิศทางให้กับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศโดยได้มีการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “Toward the Age of Digital Economy” สหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบาย “A Framework for Global Electronic Commerce”และสหภาพยุโรปได้ประกาศนโยบาย “A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น
ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ในเรื่องนี้ได้ถูกดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
                ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
                ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
นี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
                ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้น
ให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI)
วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
                จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
                ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
                ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการ
แข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
                ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
                ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
                          
            พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นี้เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เอง และประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ดังตัวอย่างเช่นในกรณีที่มีการระบุให้รับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จะต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย การบังคับใช้กฎหมายจึงจะสำร็จประสงค์ตามเจตนารมย์ที่ตั้งไว้          

                         7. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/
it/006.php)
             กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือ
ไม่?
             ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

             กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ทุกกรณีหรือเปล่า?
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQfhGSo98w-v5_EbhZxxWTb2S9yr828IiCYxSg7zmkyuxZVREJs


               หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน เพราะหากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

             กรณีที่ 3 : การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
             หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ซึ่งตามกฎหมาย การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง “ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น”
        
             กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
             การอ้างอิงเว็บไซต์ของผู้อื่น มาใส่ไว้ในเว็บของเรา มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

            กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
               การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware
               สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาตแต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาติ ยกเว้นจะทำเพื่อการค้าส่วนการ Upload เพลงขึ้นบนอินเทอร์เน็ตให้คนทั่วไปโหลดได้ฟรีๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

1. ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีเครื่องที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทรัพย์สมบัติทางด้านข้อมูลจำนวนมากอยู่บนเครือข่ายเหล่านั้น
ซึ่งบนอินเทอร์เน็ต มีระบบที่ใช้ป้องกันไม่พอเพียงรวมทั้งผู้ไม่พอในการป้องกันตัวเองจากการถูกโจมตีจากผู้อื่นเช่นกัน ระบบของเราอาจจะโดนโจมตีได้ทั้งนี้เพราะการโจมตีเหล่านั้นมีเครื่องมือช่วยมากและหาได้ง่ายมาก ตัวอย่างการโจมตีอาจจะมาจากวิธีการต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น
- Denial of Service คือการโจมตี เครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนไม่สามารถให้บริการได้ หรือทำงานได้ช้าลง
- Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scan สู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
- Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้โดยจริง ๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม ปละม้าโทรจัน และถ้าเรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อยไว้ก็จะทำงานตามที่กำหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัส เพื่อแพร่ไปยังยังที่อื่นต่อไปเป็นต้น จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เครือข่ายที่เราใช้งานอาจมีลักษณะที่เรียกว่าเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) ควรมีการป้องกันตนเองจากการโจมตีดังกล่าว ได้หลากหลายวิธี เช่น การดูแลและจัดการกับ Cookies การป้องกัน Malicious Code เช่น ไวรัส และ การใช้ Firewall


http://cdn.thenextweb.com/wp-content/blogs.dir/1/files/2012/07/Photoxpress_12531407-520x245.jpg

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)
หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือไวรัสจะนำพาตัวเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในการนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป
ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิดต่างก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
- ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการนำขยะหรือข้อมูลอื่น ๆ ไปซ้อนทับข้อมูลเดิมบางส่วนที่ถูกต้องอยู่แล้วในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ทำให้แฟ้มข้อมูลเดิมผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- ไวรัสบางชนิดจะทำการควบคุมการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แทนระบบเดิม โดยกำหนดให้ระบบปฏิบัติการหยุดการทำงานบางหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์
- ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดจะทำการเพิ่มเติมบางคำสั่ง (Embedded Commands) ลงในโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบปฏิบัติการแสดงผลเป็นข้อความอันเป็นเท็จทางจอภาพ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบฯ ได้
- ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการเปลี่ยนข้อมูลจำนวนเล็กน้อยในโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยนี้จะทำให้เจ้าของไม่รู้สึกว่าแฟ้มข้อมูลของตนได้รับเชื้อไวรัสเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีการใช้แฟ้มหรือสำเนาแฟ้มดังกล่าวไปยังมี่อื่น ๆก็จะส่งผลให้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสไปด้วย
อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งไวรัสตอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ Application viruses และ System viruses
1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ อาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processeng) หรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น การตรวจสอบการติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ทำได้โดยดูจากขนาดของแฟ้ม (File size) ว่ามีขนาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาน้อยแค่ไหน ถ้าแฟ้มมีขนาดโตขึ้น นั่นหมายถึงแฟ้มดังกล่าวอาจได้รับการติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้แล้ว
2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่น ๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
2.1 เวอร์ม (Worm)
เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด (Microsoft Word) หรือไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นเมื่อมีการรันโปรแกรมสคริปต์หรือมาโคร เวอร์มจะทำการแพร่กระจายตนเอง
2.2 โลจิกบอมบ์ (Logic bombs) หรือม้าโทรจัน (Trojan Harses)
หมายถึง โมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณะถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลาโลจิกบอมบ์ชนิดที่มีชื่อเสียงหรือมักกล่าวถึง มีชื่อว่า ปรแกรม้าโทรจัน ซึ่งมีที่มาจากมหากาพย์เมืองทรอยในอดีตของโฮมเมอร์ และถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้แฝง ตัวเองเข้าไปในระบบและจะทำงานโดยการดักจับเอารหัสผ่านเข้าสู่ระบบต่าง ๆ และส่งกลับไปยังเจ้าของหรือผู้ส่ง เพื่อบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าใช้หรือโจมตีระบบในภายหลังโปรแกรมม้าโทรจัน สามารถแฝงมาได้ในหลายรูปแบบ อาทิเช่น เกมส์ บัตรอวยพร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมม้าโทรจันจะดูเสมือนว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงม้าโทรจันมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายโปรแกรมต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
2.3 ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax)
เป็นไวรัสประเภทหนึ่งซึ่งมาในรูปของการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจผิด มักถูกส่งมาในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
2.4 แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)
1) การกำหนดแนวปฏิบัติ (Procedures) และนโยบายทั่ว ๆ ไปในองค์กร อาทิเช่น
- องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อย ๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
- มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
- องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
- มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
- มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers) หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
- องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
- การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา (Log files)
2. การป้องกันโดยซอฟต์แวร์ (Virus protection software)
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหลายชนิด ทั้งแบบซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และซอฟต์แวร์ที่แจกฟรี อาทิเช่น
- ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital signatures)
- การเข้าและถอดรหัส (Encryption)

3. ฟิชชิ่ง (Phishing) Phishing
ออกเสียงคล้ายกับ fishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการหลอกลวงซึ่งเรียกว่า Phishing จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นจดหมายจากองค์กร หรือบริษัท ห้างร้านที่ผู้ใช้ทำการติดต่อหรือเป็นสมาชิกอยู่ โดยในเนื้อหาจดหมายอาจเป็นข้อความหลอกว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นความลับ และมีความสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบ Username รหัสผ่าน Password หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร เป็นต้น วิธีป้องกันและแนวทางรับมือกับ Phishing มีดังนี้
1) ระวังอีเมล์ที่มีลักษณะในการข้อให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ หรือยืนยันข้อมูลส่วนตัวใด ๆ โดยส่วนใหญ่เนื้อหาในจดหมายจะระบุว่าเป็นจดหมายเร่งด่วน ให้ดำเนินการกรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง หากพบอีกเมล์ลักษณะดังกล่าวให้ลบอีกเมล์ดังกล่าวทันที และอาจใช้การโทรศัพท์ติดต่อกับทางองค์กร บริษัทห้างร้านด้วยตนเองอีกทีหากมีข้อสงสัย
2) หากต้องการทำธุรกรรมใด ๆ ควรไปที่ ไหรำ โดยตรงโดยการพิมพ์ URL ใหม่
3) ไม่ควรคลิกที่ hyperlink ใด ๆ หรือรันไฟล์ใด ๆ ที่มากับอีกเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่าง ๆ จากบุคคลที่ไม่รู้จัก
4) ควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และ Firewall เพื่อป้องกันการรับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการสื่อสารจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5) ควรติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (Patch) ของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา
6) ในการกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญใด ๆ ที่เว็บไซต์หนึ่ง ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่ถูก ต้องและปลอดภัย ซึ่งเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะใช้โปรโตคอล https:// แทน http://
7) ควรตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตต่าง ๆ ที่มีการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

4. ไฟร์วอลล์ (Firewall)
ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ ถ้าผู้บุกรุกมาจากเครือข่ายภายในระบบนี้จะป้องกันไม่ได้ สิที่ป้องกัน เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (worm), การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), ip spoofing ฯลฯ โดยมีลักษณะการบุกรุกดังนี้ เช่น
- Virus จะแย่งให้หรือทำลายทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์ข้อมูล, แรม ฯ
- Worm จะแย่งใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่นเขียนไฟล์ขยะลงบนฮาร์ดดิสก์ จนทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็ม
ไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Login สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม Firewall ไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากภายในเครือข่ายกันเอง รวมทั้งไม่สามารป้องกันการบุกรุกที่ไม่สามารถมากับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ไวรัส และอันตรายในรูปแบบวิธีใหม่ ๆ ได้ สรุปว่า Firewall นั้นจำทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกที่จะเข้ามายังเครือข่ายของเรานั่นเอง

5. พร็อกซี่ (Proxy)
เพื่อป้องกันระบบ Internet ให้ปลอดภัย อาจมีการนำ Proxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดยเป็นการติดต่อผ่าน Proxy Serverในระบบ Internet อาจมี Proxy Server หลายเครื่องก็ได้ ซึ่งอาจมีการแบ่งเป็น Proxy Server สำหรับ Web, Telnet, FTP และการบริการอื่น ๆ โดยปกติแล้วบางบริการจำเป็นต้องมี Proxy Server แต่บางบริการก็ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การบริการที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูล เช่น Telnet และ FTP ควรที่จะต้องมี Proxy Server แต่สำหรับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น กระแสข้อมูลสื่อประสม (Streaming Multimedia) ก็ไม่สามารถใช้ Proxy Server ได้ เนื่องจาก Proxy Server ยังไม่ได้ถูกปรับปรุงให้รองรับกับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลระบบจะต้องกำหนดเองว่าจะอนุญาตให้บริการเหล่านั้นผ่านเข้าสู่ระบบ Intranet หรือไม่ จนกว่า Proxy Server จะได้รับการปรับปรุงให้รองรับกับบริการเหล่านั้น

6. คุ้กกี้ (Cookies)
Cookie คือแฟ้มข้อมูลชนิด Text ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ที่ไปเรียกใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นี้จะเป็นข้อมูลที่เราเข้าไปป้อนข้อมูล เช่น ข้อมูลชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล์ ชื่อผู้ใช่ รหัสผ่าน หรือแม่แต่ รหัสบัตรเครดิตการ์ด ของเราเอาไว้ที่ไฟนี้ ซึ่งแต่ล่ะเว็บไซต์ เมื่อเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ในครั้งถัด ๆ ไป ก็สามารถดูข้อมูลจาก Cookie นี้เพื่อให้ทราบว่าผู้ที่เข้าใช้เป็นใคร และมีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง
เมื่อเราเข้าใช้งานในเว็บไซต์ใดๆ ข้อมูล Cookies ถูกเคลื่อนย้ายโดยวิธีการดังต่อไปนี้
- เมื่อเราพิมพ์ URL ของเว็บหนึ่ง ไปยังโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ เพื่อร้องขอให้เว็บไซต์นั้นแสดงเว็บเพจบนเซ้บเบราเซอร์ที่เราใช้งานอยู่
- โปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะทำการตรวจสอบที่ฮาร์ดดิสก์ ว่ามีไฟล์ Cookie ที่เว็บไซต์นั้นเคยเก็บไว้หรือไม่ ถ้าพบไฟล์ Cookie ที่เว็บไซต์นั้นสร้างไว้ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นั้นไปยังเว็บไซต์นั้นด้วย
- ถ้าหากไม่มีไฟล์ Cookie ส่งไปให้กับเว็บไซต์ เว็บไซต์นั้นก็จะทราบว่าผู้ใช้พึ่งเคยเข้ามาใช้งานเว็บไซต์เป็นครั้งแรก เว็บไซต์ก็จะสร้างข้อมูลชนิด Text ซึ่งมีข้อมูลหมายเลขที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยเว็บไซต์และอาจมีข้อมูลอื่น ๆ แล้วส่งมาเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้
- ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อ ๆ ไปเว็บไซต์ก็สามารถที่จะทำการเพิ่มเติมข้อมูลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในไฟล์ Cookie นี้ได้ ประโยชน์ของ Cookies
- เว็บไซต์สามารถใช้ประโยชน์จาก Cookie เพื่อให้ทราบจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เพราะผู้ใช่แต่ละคนจะถูกกำหนดหมายเลขไว้จากเว็บไซต์ ซึ่งทางเว็บไซต์ก็สามารถทราบได้ว่าเป็นผู้ใช่เก่าหรือใหม่ และผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้เว็บไซต์บ่อยแค่ไหน
- เว็บไซต์ที่มีการซื้อขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้เลือกซื้อสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งผู้ใช้อาจยังไม่ต้องการจัดการเรื่องการสั่งซื้อในวันนั้นข้อมูลสินค้า ที่ผู้ใช้เลือกไว้ก็สามารถถูกจัดเก็บไว้ที่ Cookie ก่อนเมื่อผู้ใช้เข้าใช้งานในครั้งถัดไปข้อมูลสินค้าที่เลือกไว้ ก็จะปรากฏขึ้นมาให้โดยไม่ต้องทำการเลือกใหม่อีก

ข้อควรระวังที่เกี่ยวกับ Cookies
เนื่องจากข้อมูลที่ถูกเก็บใน Cookie อาจมีข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูลอีเมล์ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งกลับไปมาระหว่างเครื่องผู้ใช้และเว็บไซต์ ซึ่งอาจมีการขโมยข้อมูลจากบุคคลอื่นได้ในระหว่างการถ่ายโอนไฟล์ ซึ่งผู้ใช้ควรระมัดระวังในการให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่เว็บไซต์


rman6453l.jpg (400×354)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhJ4H9sxNia2qQ4oliKP8-Q-gRy4Z8k5KtccEVZpKaUTfW9dxwUbf4c0F9pN8UQlhmiB4R5dx1d-7NEa_rYnmC5t3vagbq3G-4sewuvSpMRM4iYZH_e8cl8rneLduJ8m167wJHUdX0Larc/s1600/rman6453l.jpg 

7. มาตรการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามด้านจริยธรรม
ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่องเว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้คือ
“ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำ ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”
โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร ฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้
นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีที ไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
- ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
- ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
- ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
โปรแกรมนี้จะพอช่วยบรรเทาปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เช่น กลุ่มเว็บโป้ ลามกอนาจาร กลุ่มเว็บกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1. บทนำ
          แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้
               - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
               - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
               - ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
               - ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
               - ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
               - ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง
โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
               ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่าง มากในการดำเนินงานและการตัดสินใจของคนในสังคม ปัจจุบันจึงเรียกว่า สังคมสารสนเทศซึ่งหมายถึงการที่สารสนเทศกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน การจัดระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความเที่ยงตรงตามเรื่องที่ต้องการ ใช้ เรียกใช้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา โดยภาพรวมแล้วระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะมีประโยชน์สามประการ ดังนี้
              - ประโยชน์ในการบริหารงาน การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน 
การปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
              - ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสูงกว่าและต่ำกว่า เพื่อให้ระบบสารสนเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน
              - ใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์หน่วยงาน


2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลาย
ด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM)
เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย
               2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ใน
การ ปฏิบัติงานประจำ และทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบ คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
              2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบ
สารสนเทศ สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน
              2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหาร
ใน การตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตาย ตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
             เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแลว้ จะเปน็ การยากอย่างยิ่งในการสือ่ สารสารสนเทศทัง้ นี้เพราะในภาวะปัจจุบันมสี ารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิด ภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัวจึงทำให้มี
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้
       - ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
       - เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
       - ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
       - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ
ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
       - ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
       - สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
       - อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กรมีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
       - ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
              4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็น แล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น เทคโนโลยีนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล ในประเด็นนี้ผู้บริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคโนโลยีนั้นๆ
              4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือบริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะ สม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น หากไม่ได้วางแผนละควบคุมให้ดี กลับไปเลือกใช้เทคโนโลยีผิดแล้วจะเกิดความเสียหายได้มาก
              4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง มาตรฐานทางด้านตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดว่าทั้งองค์กรจะต้องใช้ซอฟต์แวร์แบบไหน บ้าง จะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไร จะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล มาตรฐานข้อมูลและรหัสข้อมูลแบบไหน
             4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใดนี่เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ ได้ชัดเจน และทำให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหากับ ผู้บริหารองค์กรเพราะผู้บริหารองค์กรไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศไปมากนัก
             4.5 การจัดองค์กร เมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ต่อไปก็จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ให้เข้มแข็งมากขึ้นโดยคำนึงถึง
             - หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
             - บุคลากรที่เหมาะ
             - ผลตอบแทนต่อบุคลากร
             4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดี และต้องมี
หัวหน้าโครงการที่มีความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
             4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
             4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล การที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บข้อมูลมาใช้เอง ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน
             4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้น
เป็น การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำงานร่วมกับเราได้ ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมาเราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่บุคคลภายนอกบางคนอาจจะมีความประสงค์ร้ายไว้ ด้วยเหตุนี้ผู้บริหาร งานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นจะต้องคิดหาวิธีที่จะป้องกันอุปกรณ์เทคโนโลยี สารสนเทศต่างๆทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูล ไม่ให้ถูกบุคคลภายนอกทำลายได้ นอกจากบุคคลภายนอกแล้ว ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ต่างๆ ของเราอาจจะประสบอุบัติภัยในด้านต่างๆ ได้ตลอดเวลา
            4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจ ต้อง
พยามยามชี้ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุน
            4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
           การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคมปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
           5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำ
เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและสามารถจัดพิมพ์ฉบับได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
           ซึ่งการประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสารทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล ระบบประมวลผลคำนี้จำแนกได้ 2ระบบคือ ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์
                  - งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม
                  - งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
                 - งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ (Computer Graphic Devices)งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์การบันทึกข้อมูลเสียงโดยใช้ Sound Blasterเป็นต้น
                 - งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
           5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้านผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์
                 - อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์แบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต การขับเคลื่อนการบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่น ยนต์
                 - อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับบรรณาธิกรณ์ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
           5.3 การประยกต์ใ์ช้เ้ทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงิน และการพาณิชย์ สถาบันการเงินเช่น ธนาคารได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วย ปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก
           5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี
           5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ได้แก่
                  - ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วย
ด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน มีลักษณะแบบจุลภาคแต่สามารถขยายเป็นระดับมหภาคได้
                  - ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็น
อหิวาตกโรค ในหมู่บ้าน แพทย์และสาธารณสุขอำเภออาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็ก เท่าไรเพื่อจะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที
                  - ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่ม
ผู้ นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial intelligence :AI มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน
          5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่
ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
                 - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอา
คอ อธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่
                 - การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ
ตั้งแต่ แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) โดยใช้ผู้สอน
                 - เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่
เป็น ประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
                 - การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้
นำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET(Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น
                 - การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์ อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลองซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน

           การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา
การ เลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดี

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)
6.1 ความหมาย
            ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงาน
ร่วม กันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆอย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail, msn, instant messaging, web, blogและ wiki สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษา
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม นั้น เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้
           ซอฟต์แวร์สังคมมีจุดกำเนิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์และกลุ่มคนทางสังคม
ที่ ให้ความสนใจในประเด็นที่ต่างออกไปจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไป เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมบัญชี โปรแกรมการลงทะเบียน เป็นต้น
6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
          เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
          1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
สอง ฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Webboard , Newsgroup เป็นต้น ฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN เป็นต้น
          2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน
6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
          1) Blog
          Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่
ทั้ง สองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้
          Blog ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บ, วีดีโอ, ข้อมูลเสียงและ
อื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็น blog ทั่วๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” บุคคลที่โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”
         จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบcomment ของบล็อกนั่นเอง ความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการ comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย
         เครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่เราใช้ในการเขียน Blog มีมากมาย เช่น WordPress, Movable Type
เป็น ต้น จึงมีผู้คนมากมายในโลกหันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ, สิ่งพิมพ์,โทรทัศน์
          Blogger หลายคนสนับสนุนประเด็นการเคลื่อนไหวเรื่อง open source ธรรมชาติของการเผย
แพร่โดยอิสระช่วยให้ blog ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก บาง blog นั้น ลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก
           2) Internet Forum
           Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือ
ซอฟต์แวร์ ที่ให้บริการด้านนี้ ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และnewsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของ ฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น
รือแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้ บางที่มีโปรแกรมแปลและตรวจสอบการสะกดคำ เป็นต้น
           3) Wiki
           Wiki อ่านออกเสียง “wicky”, “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เรา
สามารถ สร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่ใช้ทำWiki หลายอย่าง ภาษารวมทั้งภาษาไทย สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้ http://th.wikipedia.com
           4) Instant Messaging
เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative
privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger , MSN
Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น ในการใช้งานดังกล่าวจะสามารถเพิ่มรายชื่อให้อยู่ในcontact list หรือ buddy list ได้
           5) Social network services
Social network services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้ สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วม
กัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก
            6) Social guides
            เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น ตัวอย่าง
เช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
            7) Social bookmarking
            บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อ
แลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
           8) Social Citations
           มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิต
นัก ศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น CiteUlink เป็นต้น
           9) Social Shopping Applications
           มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll,
Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere
           10) Internet Relay Chat
           Internet Relay Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมี
หลายๆ คนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้วก็ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้ ซึ่งผู้ใช้ในห้องแต่ละห้องอาจจะมีการเข้าไปใช้งานและออกจากห้องสนทนาอยู่ ตลอด
           11) Knowledge Unifying Initiator (KUI)
           Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge anagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม KUI ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
          - Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
          - Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
          - Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย
6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
           ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social
computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกใน สังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับ ภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตน ด้วยตนเอง
           บล็อก (blog) หรือที่บางคนเรียกว่ากล่องข้อความ เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้
เพื่อ การเสนอ (Post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม โดยสามารถให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้โดยปกติแล้วผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจะสามารถใช้บล็อก ได้โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก เมื่อบุคคลมีบล็อกของตนเองแล้วเขาย่อมมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่อง ราวต่าง ๆ ที่เขาคิดเห็นว่าเขาควรมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเองและเขาย่อมจะมีสิทธิที่จะขอ รับความคิดเห็นจากผู้อ่านบล็อกของเขาได้บล็อกจะเรียงลำดับเหตุการณ์จาก ปัจจุบันไปอดีต
            ปัจเจกวิธาน (folksonomy) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่แห่งสรรพสิ่ง ที่ผู้ใช้สนใจ โดยผู้จัดหมวดหมู่เป็นผู้กำหนดเอง เป็นการให้โอกาสผู้ใช้เป็นผู้เลือกจัดและเป็นผู้เรียกใช้คืนได้ตามที่ได้จัด ไว้ ยังไม่มีปัจเจกวิธานตัวใดที่สามารถใช้จัดหมวดหมู่ได้ทุกสรรพสิ่ง แต่มีซอฟต์แวร์ปัจเจกวิธานเฉพาะเรื่องให้เลือกใช้จำนวนหนึ่งเช่นการจัดหมวด หมู่ของรูปภาพ สามารถใช้บริการที่ http://www.flickr.com การกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์

            เจตจำนงสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมอีกอันหนึ่งก็คือ การเปิดโอกาสปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคม ของพวกเขาได้ด้วยตนเอง การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมีอิสรเสรีในการเลือกประโยชน์ที่ต้องการด้วย ตนเอง
            การจัดการความรู้ (Knowledge management) เป็นเรื่องที่รู้จักกันมานานแล้ว เทคนิคที่ใช้ในการจัดการความรู้นั้นก็มีมากมายหลายวิธี เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการจัดการความรู้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นก็ยังเหมือนเดิม โดยหัวใจของกระบวนการในการจัดการความรู้ก็ยังคงความสำคัญอยู่ที่การแบ่งปัน ความรู้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามในยุคแห่งความรุ่งเรืองของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ ได้มีความพยายามในการนำเอาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการจัดการความรู้มากขึ้น
           ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้ ยังมีอีกมากแต่ที่เป็นที่น่าสนใจได้แก่ วิกิ(WiKi) มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารนุกรมที่เปิดโอกาส ให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร่างสารสนุกรม ดังเช่น http://www.wikipedia.org หรือวิกิพีเดียในภาคภาษาไทยโดยตรงที่ http://th.wikipedia.org เป็นต้น ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญอย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคล ในการ สื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการ ครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุดดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อสังคมใด ๆ พึงตระหนัก
ถึงหลักการเคารพในสิทธิปัจเจก (Individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

           7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์
           7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
                    1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือ
                     เว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบและสามารถกำหนดค้นได้ง่าย
                    2) การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)
                    เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword)ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยใน การทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือRobot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ นามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย
                    3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถ
เชื่อม โยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท NaturalLanguage (ภาษาพูด)
           7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่าง
แพร่ หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมี
           จำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่ เครื่องมือประเภทนี้เป็นนิยามที่แคบของคำว่า search engines

            ข้อดีของการใช้โปรแกรมค้นหาคือ ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำ
ดรรชนีทีละเว็บเพจ และ ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา เนื่องจาก spider จะ
ตรวจ สอบและจัดทำดรรชนีอย่างสม่ำเสมอ มีการเพิ่มหน้าเว็บเพจใหม่ และตัดหน้าเว็บเพจที่ไม่ทำงานออกไปโดยอัตโนมัติอย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละวัน แต่ข้อจำกัดของการค้นด้วยโปรแกรมค้นหาคือ ความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย เนื่องจากการจัดทำดรรชนี จัดทำโดยอัตโนมัติจากการนับจำนวนคำที่ปรากฏในส่วนแรกของเว็บเพจ และอาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน

             Google มีจุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยีการสืบค้นที่รวดเร็ว การเรียงลำดับผลการสืบค้นที่มี
ความ เกี่ยวข้องสูง และการสืบค้นเป็นภาษาท้องถิ่นต่างๆ ในโลกเกือบ 100 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย จึงทำให้ได้รับความนิยมและเครื่องมือสืบค้นหลายตัวที่ใช้เทคโนโลยีของ Google
            1) การสืบค้นข้อมูล
            ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ ซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือ เตรียมกลยุทธ์การสืบค้น และ การศึกษาลักษณะการสืบค้นของ Google จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด

            ปัจจุบันเครื่องมือสืบค้นแต่ละตัวจะมีลักษณะเป็นแบบผสม (Hybrid) มากขึ้น กล่าวคือ มิได้มี
วิธี สืบค้นเพียงวิธีเดียว เช่น Google ได้จัดทำบริการจัดหมวดหมู่ด้วยเพื่อขยายขอบเขตของการให้บริการสืบค้น สารนิเทศออกไป นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งซึ่งอาจถือว่าเป็นประเภทย่อยของเครื่อง มือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines) หรือถือว่าเป็นเครื่องมือสืบค้นอีกประเภทหนึ่งก็ได้นั่นคือ เครื่องมือค้นคืนจากหลายเครื่องมือ ในคราวเดียวกนั
            2) ลักษณะการสืบค้นของ Google
            - ไม่จำเป็นต้องใส่ตัวเชื่อม and (และ) ระหว่างคำ โดย Google จะเชื่อมคำอัตโนมัติ
            - หาข้อมูลเพิ่มให้ เมื่อใช้ตัวเชื่อม OR (หรอื ) ตัวพิมพ์ใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london ORparis คือหาทั้งใน London และ Paris
            - Google จะละคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) และตัวอักษรเดี่ยวเพราะจะทำให้ค้นช้าลงถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ต้องเว้น วรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้นเช่น computer programming +I
            - Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ เช่น .pdf . xls .doc โดยพิมพ์
filetype : นามสกลุ ของไฟล ์ เชน่ “LAN” filetype:ppt หมายถงึ คน้ หาคำวา่ LAN ทีเ่ ปน็ ไฟล์  
นามสกุล .ppt
             - Google สามารถเก็บหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ได้ โดยคลิกที่ Cached (ถูกเก็บไว้) ประโยชน์คือช่วยให้เข้าถึงบางเว็บที่โดนลบไปแล้ว โดยจะได้ข้อมูลก่อนถูกลบ
http://rack.2.mshcdn.com/media/ZgkyMDEyLzEyLzAzL2U0L3NlZWhvd3lvdXJnLjlyMS5qcGcKcAl0aHVtYgk5NTB4NTM0I
wplCWpwZw/8fec6ce4/e71/see-how-your-google-results-measure-up-with-google-grader-video--6b8bbb4b41.jpg