วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความหมายของสารสนเทศ

          สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ
ประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการ ในการใช้งาน และทันเวลา



http://images.clipartof.com/small/16448-Blue-Person-Carrying-A-Lot-Of-Information-Clipart-Illustration-Graphic.jpg



ความสำคัญของสารสนเทศ


          สารสนเทศเป็นรากฐานสำคัญยิ่งในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรของรัฐบาลและเอกชน การศึกษาและการวิจัย แม้แต่กับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้สารสนเทศช่วยในการถ่ายทอดวิชาการและเทคโนโลยีจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง จากหน่วยงานหนึ่งสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง จากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง ซึ่งเกิดเป็นแนวคิด แนวทางในการเกิดความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป



ประเภทของสารสนเทศ


          1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
                  1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็น
สารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้

เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนา ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอด เป็นต้น
                 1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่

จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสาร ที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ
                 1.3 แหล่ง ตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทจี ดั ทำขึน้ เพื่อ ใช้ใ้ นการคน้ หาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม

           2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ 
                 2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียน
                 2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น  
                 2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวก เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง
ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                 2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล



                ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjmwr6C8Fl7rEnu0hqDF28v6dxDjnbP_ve4ZKwr-fclguCptKPtwUeme9WtBP2M92lyM5LZQnxuPxSubwGiDN1Fd4ahkGTCC2r92xL6AZcz38b3sdEVAbXbOt-8Sl-2Htg7R1OnhQcosqwL/s1600/books.jpg






คุณสมบัติของสารสนเทศ


            ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่าสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชิวิต การบริหารจัดการ และใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสารสนเทศ จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ ดังนี้



       1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)
       2) มีความถูกต้อง (Accurate)
       3) มีความครบถ้วน (Completeness)
       4) ความเหมาะสม (Appropriateness)
       5) ความทันต่อเวลา (Timeliness)
       6) ความชัดเจน (Clarity)
       7) ความยืดหยุ่น (Flexibility)
       8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability)
       9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy)
       10) ความไม่ลำเอียง (Bias)

              แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
        แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากร

สารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา  โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่างๆ กัน โดยแบ่งได้ 4 แหล่งดังนี้คือ

         1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน เช่น สำนักวิทยบริการ ห้องสมุด 
พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์ เป็นต้น


         2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสมฟาร์มจระเข้ และเมือโบราณ เป็นต้น
         3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ   เช่น นักบวช กวี ศิลปินนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์
         4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516

พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544
         5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดยเน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง
         6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่างๆได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานของตนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีข้อมูล 


                                          ข่าวสาร สารสนเทศมากมาย
              http://www.fastlanepc.com/wp-content/uploads/2011/11/browsers.png



http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/85/Library_book_shelves.jpg/220px-Library_book_shelves.jpg



          ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)

             ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) 
            
 1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ 

             1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  จากทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ดังนี้ 
           - หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม มีการบันทึกสารสนเทศเป็นเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยหรือคิดสร้างสรรค์ จนได้เนื้อหาละเอียดกว้างขวางลึกซึ้งต่อเนื่อง อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เป็น  เป็นเล่ม เป็นชุด     
          - วารสาร (Periodicals) คือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial) ที่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น ราย สัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน เป็นต้น          
          - หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเารณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้นๆ         
          - กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป มีการจัดเก็บใส่แฟ้ม แยกเป็นเรื่องๆ ด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
               
             2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ ที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย  มีรูปแบบลักษณะหลากหลายโดยทำจากเนื้อวัตถุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกชนิดต่างๆ ได้แก่ แผ่นฟิล์มขนาดต่างๆ อาจเป็นเส้นเทปพลาสติกยาวโดยกรอเป็นม้วน  อาจเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ อาจเป็นคลื่นไฟฟ้าหรือคลื่นแสงคลื่นเสียงบันทึกสารสนเทศเป็นสัญญลักษณ์ต่างๆ ทั้งตัวอักษร เส้น สี แสง  เพื่อรับรู้สารสนเทศตามความต้องการซึ่งจำแนกได้ดังนี้
           
          
             - ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้การมองเห็นหรือสัมผัสเพื่อรับรู้สารสนเทศ
โดยการดู หรืออาจจะดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน รูปภาพ ลูกโลก แผ่นภาพโปร่งใส หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น
           - โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่รับรู้สารสนเทศด้วยการฟังเสียงเพียง
อย่างเดียว ได้แก่ จานเสียงหรือแผ่นเสียง เทปเสียง แผ่นซีดี รายการวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
           - โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียง และภาพเคลื่อนไหว
จึงนับเป็นทรัพยากรที่สื่อสารสนเทศได้ครบถ้วนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์ วิดทัศน์ วีซีดี ดีวีดี และรายการโทรทัศน์

              3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจำแนกออกเป็น
               - ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศทีสื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น หากต้องการใช้สารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึก (Copy) สัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต แผ่นซีดี หรือ รีมูฟเอเบิลไดรว์ (Removable Drive or Handy Drive or FlashDrive)
              - ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างป็นระบบ เพื่อความสะดวก
ในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการ รูปแบบที่สารสนเทศที่ให้บริการมีทั้ง บทความวาสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ข้อมูลสาระสังเขปข้อมูลตัวเลข  ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต